เนื้อหาสาระหน่วยที่1
เรื่อง การกำหนดปริมาณสารและปฏิกิริยาเคมี
มวลอะตอม
อะตอม เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากและมีมวลน้อยมาก จึงไม่สามารถหามวลของสารจากการชั่งโดยตรงได้ มวลอะตอมไม่ใช่มวลที่จริงของธาตุนั้น 1 อะตอมกับมวลของธาตุอื่น แต่เป็นค่าเปรียบเทียบ โดยมีวิธีเปรียบเทียบดังนี้
มวลอะตอมขนาดธาตุ X = มวลของธาตุ X 1 อะตอม มวลของธาตุ H 1 อะตอม |
ต่อมาใช้ C-12 เป็นธาตุมาตรฐานในการเปรียบเทียบ เนื่องจากสะดวกกว่า โดยที่ C-12 หมายถึง C ที่มีมวลอะตอม = 12
เราทราบว่า C 1 อะตอม มีมวล 12 amu
ดังนั้น C อะตอม มีมวล 12 amu หรือ 1 amu
มวลอะตอมของธาตุ X = มวลของธาตุ X 1 อะตอม มวลของ C-12 1 อะตอม |
มวลโมเลกุล
การหามวลโมเลกุลใช้วิธีเปรียบเทียบเช่นเดียวกับการหามวลอะตอม ดังนี้
มวลโมเลกุลของธาตุ X = มวลของธาตุ X 1 อะตอม มวลของ C-12 1 อะตอม |
เราสามารถหามวลโมเลกุลของสารได้จาก ความสัมพันธ์ต่อไปนี้
มวลโมเลกุล = ผลรวมของมวลอะตอมทุกอะตอมในโมเลกุล |
ตัวอย่างการคิดมวลโมเลกุลของสาร เช่น
H2 SO4 = (1 2) + 32 + (16 4) = 98
Ca3 (PO4)2 = (40 3) + 2 { 31+ (16 4)} = 310
โมลและปริมาณต่อโมลของสาร
โมล (Mole) เป็นหน่วยบอกปริมาณสารในวิชาเคมี ซึ่งจำนวนโมลของสารสามารถ แสดงถึงความสัมพันธ์กับปริมาณในหน่วยอื่นๆ ได้ใน 3 ลักษณะ ดังนี้
- 1. ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมลกับจำนวนอนุภาคของสาร
- 2. ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมลกับมวลของสาร
- 3. ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมลกับปริมาตรของก๊าซ
- 1. ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมลกับจำนวนอนุภาคของสาร
นักเคมีได้มีการกำหนดปริมาณของสาร 1 โมล โดยกำหนดเป็นจำนวนอนุภาคของสารดังนี้
สารใดๆ 1 โมล จะมีจำนวนอนุภาค = 6.02 1023 อนุภาค |
จำนวนอนุภาค หมายถึง
-อะตอม ธาตุที่อยู่เป็นอะตอมเดี่ยว เช่น Fe , Cu , Zn , C เป็นต้น
-โมเลกุล สารในรูปสารประกอบ หรือ ก๊าซ เช่น CCl4 , H2O , H2 , Cl2 เป็นต้น
-ไอออน อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น Na+ , Cl- , SO เป็นต้น
เมื่อเราทราบว่าปริมาณ 6.02 1023 อนุภาค เท่ากับสาร 1 โมล ถ้ามีสารอยู่ N อนุภาค จะคิด
คำนวณโมลของสารได้จาก
จำนวนโมล = N NA |
เมื่อ N แทนจำนวนอนุภาคของสาร
NA แทนจำนวนอนุภาคของสารต่อ 1 โมล คือ 6.02 1023
- 2. ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมลกับมวลของสาร
สารเคมีจำนวน 1 โมล มีจำนวนอนุภาคเท่ากัน แต่มีมวลของสารเหล่านั้นไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงมีการกำหนดปริมาณสาร
1 โมล ในรูปของสารดังนี้
สารใดๆ 1 โมล จะมีมวลเท่ากับค่ามวลอะตอมหรือมวลโมเลกุลของสารนั้นในหน่วยเป็นกรัม |
เมื่อทราบมวลของสารใดว่าหนักกี่กรัมย่อมสามารถคิดหาจำนวนโมลของสารนั้นได้จาก
จำนวนโมล = m M |
เมื่อ m แทนจำนวนมวลของสาร ในหน่วยกรัม
M แทนมวลของสารต่อหนึ่งโมล ซึ่งเท่ากับมวลอะตอมหรือมวลโมเลกุลของสารนั้นนั่นเอง
- 3. ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมลกับปริมาตรของก๊าซ
จากการศึกษาเกี่ยวกับก๊าซชนิดต่างๆ นักเคมีพบว่า
ก๊าซใดๆ 1 โมล จะมีปริมาตร 22.4 dm3 ที่อุณหภูมิ 0 ˚C ความดัน 1 บรรยากาศ |
เรียกสภาวะนี้ว่า อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure หรือ STP) เมื่อเราทราบปริมาตรของก๊าซเราสามารถหาจำนวนโมลของก๊าซนั้นได้จากคามสัมพันธ์ดังนี้
จำนวนโมล = V(ที่ STP) 22.4 |
สูตรเคมี
สูตรเคมี คือ สัญลักษณ์ที่เขียนแทนโมเลกุลของสารโดยเขียนสัญลักษณ์ของธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของโมเลกุลไว้ด้วยกัน สูตรเคมี แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
- 1. สูตรโมเลกุล เป็นสูตรที่แสดงจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารที่มีอยู่ใน 1
โมเลกุล เช่น CCl4 แสดงว่า 1 โมเลกุล ประกอบด้วย C 1 อะตอม และ Cl 4 อะตอม
- 2. สูตรอย่างง่าย เป็นสูตรที่แสดงอัตราส่วนอย่างต่ำระหว่างจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็น
องค์ประกอบ ส่วนใหญ่ใช้เขียนแสดงสูตรของสารประกอบไอออนิก ซึ่งไม่มีสูตรโมเลกุลที่แน่นอน เช่น NaCl MgCl2 AlCl3 ฯลฯ
- 3. สูตรโครงสร้าง เป็นสูตรที่แสดงว่าใน 1
โมเลกุลของสาร ประกอบด้วยธาตุใดบ้างอย่างละกี่
อะตอม และมีการจัดเรียงตัวอย่างไร เช่น CO2 มีการ
จัดเรียงอะตอม ดังนี้ O = C = O
สมการเคมี
สมการเคมี เป็นสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นแทนปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาของสารตั้งต้น แล้วเกิดเป็นสารใหม่ (ผลิตภัณฑ์) มีหลักการเขียนดังนี้
- 1. เขียนสูตรเคมีของสารตั้งต้นที่เข้าทำปฏิกิริยากันไว้ทางด้านซ้ายมือ
- 2. เขียนสูตรเคมีของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาไว้ทางขวา โดยใช้ คั่นระหว่างสาร
ตั้งต้นและผลิตภัณฑ์
- 3. ระบุสถานะของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ ดังนี้
s = solid (ของแข็ง) l = liquid (ของเหลว)
g = gas (ก๊าซ) aq = aqueous (สารละลาย)
- 4. ดุลสมการเคมีที่เขียนขึ้น โดยทำให้จำนวนอะตอมของธาตุทุกชนิดในสมการเท่ากันทั้งด้านซ้าย
และด้านขวา โดยเติมตัวเลขที่เหมาะสมลงหน้าสารในสมการแต่ละชนิด ซึ่งตัวเลขที่ทำให้สมการดุลนั้นจะเติมลงข้างหน้าสูตรของสารแต่ละชนิด ตัวเลขนี้จะหมายถึงอัตราส่วนของจำนวนโมลของสารที่ทำปฏิกิริยาพอดีกัน ซึ่งจะได้จากข้อมูลจากการทดลองหาอัตราส่วนโดยโมลของสารแต่ละชุดที่เข้าทำปฏิกิริยาพอดีกัน โดยใช้กระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า การไทเทรต(Titration)
การดุลสมการเคมี
การเขียนสมการเคมีที่ถูกต้อง จะต้องทำสมการเคมีให้สมดุล โดยการทำให้จำนวนอะตอมของธาตุแต่ละชนิดทางด้านซ้ายของสมการเท่ากับด้านขวา โดยเติมตัวเลขที่เหมาะสมลงไปข้างหน้าสูตรของสารเคมีแต่ละชนิด
การเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นการเปลี่ยนแปลงของสาร จากสารเดิมไปเป็นสารใหม่ ลักษณะการเกิดปฏิกิริยาอาจจำแนกเป็นระบบต่างๆได้ดังนี้
- 1. จำแนกตามการเปลี่ยนแปลงมวลสาร
1.1 ในการเกิดปฏิกิริยาใดๆ ถ้ามวลของสารก่อนการเกิดปฏิกิริยาเท่ากับมวลของสารที่ได
จากปฏิกิริยา จะเรียกว่าเป็น “ระบบปิด”
1.2 ในการเกิดปฏิกิริยาใดๆ ถ้ามวลของสารก่อนการเกิดปฏิกิริยาไม่เท่ากับมวลของสาร
หลังการเกิดปฏิกิริยา จะเรียกว่าเป็น “ระบบเปิด”
- 2. จำแนกตามการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
2.1 ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายเทความร้อนจากระบบไปสู่สิ่งแวดล้อม เรียกว่า “ปฏิกิริยาคายความร้อน” เช่น การเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนกับออกซิเจน
1.1 ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ระบบ เรียกว่า “ปฏิกิริยา
ดูดความร้อน” ฏิกิริยาที่พบในชีวิตประจำวันมีหลายชนิด มีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
- 1. ปฏิกิริยาการรวมหรือการสังเคราะห์ (Combination or Synthesis) เป็นปฏิกิริยาเคมีที่สาร
ตั้งต้นมากกว่า 1 ชนิด มารวมกันเป็นสารใหม่เพียงชนิดเดียว
- 2. ปฏิกิริยาแยกสลาย (Decomposition) เป็นปฏิกิริยาสารตั้งต้นเพียงชนิดเดียว สลายตัวเป็น
สารใหม่ได้มากกว่า 1 ชนิด
- 3. ปฏิกิริยาการตกตะกอน (Precipitation) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากสารละลาย 2 ชนิด มาผสม
กัน แล้วทำให้เกิดสารใหม่ที่ไม่ละลายน้ำ(ตกตะกอน)
- 4. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ (Combustion) เป็นการเกิดปฏิกิริยาชนิดใดชนิดหนึ่งกับออกซิเจนใน
อากาศ แล้วให้ความร้อนและแสงสว่างออกมา
- 5. ปฏิกิริยาการแทนที่ (Substitution) เป็นปฏิกิริยาที่สารตั้งต้น 2 ชนิดทำปฏิกิริยากัน โดย
อะตอมของธาตุในสารใดสารหนึ่งไปแทนที่บางอะตอมในสารอีกชนิดหนึ่งออกมา
สารละลาย
สารละลายไม่ใช่สารประกอบ แต่ประกอบด้วยสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป
- 1. องค์ประกอบของสารละลาย
สารละลายมีส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้
- 1. ตัวทำละลาย
- 2. ตัวถูกละลาย
ตัวอย่างเช่น น้ำเชื่อม น้ำเป็นตัวทำละลายและมีน้ำตาลทรายเป็นตัวถูกละลาย ตัวทำละลายและตัวถูกละลายมีมากกว่าหนึ่งชนิด เช่น น้ำอัดลม มีน้ำเป็นตัวทำละลายและมีสารหลายชนิดเป็นตัวถูกละลาย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาล สี สารมีกลิ่นหรือน้ำผลไม้
สารละลายบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสถานะของตัวทำละลาย ได้แก่
- 1. สารละลายของแข็ง มีตัวทำละลายเป็นของแข็ง ส่วนตัวถูกละลายอาจอยู่ในสถานะของแข็ง
ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ เช่น นาก ไฮโดรเจนในแพลทินัม โลหะเงินอุดฟัน เป็นต้น
- 2. สารละลายของเหลว มีตัวทำละลายเป็นของเหลว ส่วนตัวถูกละลายอาจอยู่ในสถานะของแข็ง
ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ เช่น สารละลายเอทานอล น้ำปัสสาวะ น้ำโสดา เป็นต้น
- 3. สารละลายก๊าซ มีตัวทำละลายเป็นสถานะก๊าซ ส่วนตัวถูกละลายอาจอยู่ในสถานะของแข็ง
ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ เช่น อากาศ ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
หลักในการพิจารณาตัวทำละลายและตัวถูกละลาย
- 1. ถ้าสารที่มารวมกันเป็นสารละลายมีสถานะต่างกัน ตัวทำละลายจะมีสถานะเหมือนกับ
สารละลาย เช่น น้ำโซดา
- 2. ถ้าสารที่มารวมตัวกันเป็นสารละลายมีสถานะเหมือนกัน สารที่มีปริมาณมากจะเป็นตัวทำ
ละลาย ส่วนสารที่มีปริมาณน้อยกว่าเป็นตัวถูกละลาย เช่น น้ำส้มสายชู
โดยปกติการเตรียมสารละลาย มักใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เพราะหาได้ง่ายและราคาถูกรวมทั้งมีสมบัติคงที่ สารละลายที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เรียกว่า Aqueous Solution
2. ชนิดของสารละลาย
สามารถแบ่งสารละลาย ออกเป็น 3 พวก คือ
2.1 สารละลายเจือจาง (Dilute Solution) หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกละลายอยู่น้อย
2.2 สารละลายเข้มข้น (Concentrated Solution) หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกละลายอยู่มาก
2.3 สารละลายอิ่มตัว (Saturated Solution) หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายละลายอยู่เต็มที่แล้วแม้จะใส่ตัวถูกละลายลงไปอีก ก็ไม่สามารถละลายในตัวทำละลายได้ต่อไป ณ อุณหภูมิหนึ่ง
ปรากฏการณ์ที่สารละลายมีตัวถูกละลายละลายอยู่มากกว่า ความสามารถในการละลายปกติที่อุณหภูมิหนึ่งๆ เราเรียกสารละลายนี้ว่า สารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด (Supersaturated Solution) การเติมผลึกของตัวถูกละลายลงในสารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด จะช่วยชักนำให้ตัวถูกละลายตกผลึก แยกออกจากสารละลาย
- 3. สิ่งที่มีผลต่อสารละลาย
สิ่งที่มีผลต่อสารละลาย ที่สำคัญมีดังนี้
3.1 ธรรมชาติของตัวถูกละลายและตัวทำละลาย ทั้งตัวถูกละลายและตัวทำละลายต่างมี
อิทธิพลต่อสารละลาย
3.2 อุณหภูมิ โดยปกติเมื่อเราต้องการให้สารชนิดหนึ่งชนิดใดละลายในตัวทำละลายมากขึ้น เราใช้ความร้อนช่วย ทำให้สารละลายได้เพิ่มขึ้น แต่มีของแข็งบางชนิด เมื่อเพิ่มอุณหภูมิแล้วสารกลับละลายได้น้อยลง
3.3 ความดัน เป็นองค์ประกอบของสารละลาย ซึ่งส่วนใหญ่มีอิทธิพลต่อก๊าซ เพราะความสามารถในการละลายของก๊าซจะเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มความดัน เช่น การทำโซดาและน้ำอัดลมต่างๆ
แต่ความดันที่เปลี่ยนแปลงไม่ค่อยมีผลต่อของเหลว หรือของแข็ง
- 4. ความเข้มข้นของสารละลาย
ความเข้มข้นของสารละลาย เป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า ในสารละลายหนึ่งๆมีปริมาณของตัวถูก
ละลายเป็นปริมาณมากน้อยเพียงใด การบอกความเข้มข้นของสารละลายทำได้หลายวิธี
4.1 เป็นค่าร้อยละ ซึ่งจำแนกได้เป็น
1) ร้อยละโดยมวล เป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวถูกละลายที่มีอยู่ในสารละลาย 100 หน่วย
มวลเดียวกัน เช่น สารละลาย NaCl 15% โดยมวล หมายถึง ในสารละลาย NaCl 100 กรัม มี NaCl ละลายอยู่ 15 กรัม
ร้อยละโดยมวล = มวลตัวถูกละลาย 100 มวลสารละลาย
|
2) ร้อยละโดยปริมาตร เป็นหน่วยที่บอกปริมาตรของตัวถูกละลายที่มีอยู่ในสารละลาย 100
หน่วยปริมาตรเดียวกัน เช่น สารละลาย CH3COOH 3% โดยปริมาตร หมายความว่า ในสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มี CH3COOH ละลายอยู่ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้อยละโดยปริมาตร =ปริมาตรตัวถูกละลาย 100 ปริมาตรของสารละลาย
|
3) ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร เป็นหน่วยที่บอกถึงมวลของตัวถูกละลายที่ละลายใน
สารละลาย 100 หน่วยปริมาตร ซึ่งคิดได้จาก
ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร = มวลของตัวถูกละลาย 100 ปริมาตรของสารละลาย
|
4.2 โมลาริตีหรือโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร (Mlarity or mol/dm3 ) หรือโมลาร์ใช้
สัญลักษณ์ M
โมลาริตีของสารละลาย บอกให้ทราบถึงจำนวนโมลของตัวถูกละลายที่ละลายอยู่ในสารละลาย 1 dm3 ให้หน่วยเป็น mol/dm3 หรือโมลาร์ หน่วยนี้บอกให้ทราบว่า ในสารละลาย 1 dm3 มีตัวถูกละลายอยู่กี่โมล เช่น สารละลาย NaCl 0.1 mol/dm3 (0.1 M) หมายความว่าในสารละลาย 1 dm3 มี NaCl ละลายอยู่ 0.1 mol ค่าความเข้มข้นในหน่วยนี้นิยมนำไปใช้ในการคำนวณหาปริมาตรสารในปฏิกิริยาเคมี
mol/dm3 = จำนวนโมลของตัวถูกละลาย 100 ปริมาตรของสารละลาย 1 dm3
|
4.3 โมแลลิตีหรือโมลต่อกิโลกรัม (Mlarity or mol/kg) หรือโมแลล ใช้สัญลักษณ์ m
โมแลล บอกให้ทราบว่าในตัวทำละลาย 1 kg มีตัวถูกละลาย ละลายอยู่กี่โมล เช่น สารละลายกลูโคสในน้ำเข้มข้น 0.5 โมแลล หมายความว่าในน้ำ 1 kg จะมีกลูโคสละลายอยู่ 0.5 โมล
โมแลล (m) = จำนวนโมลของตัวถูกละลาย 100 มวลของตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม
|
4.4 เศษส่วนโมล (Mole Fraction) ใช้สัญลักษณ์ X
เป็นหน่วยที่แสดงสัดส่วนโดยจำนวนโมลของสารที่เป็นองค์ประกอบในสารละลายต่อจำนวนโมลรวมของสารทุกชนิดในสารละลาย เช่น สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A,B และ C จะเขียนเศษส่วนโมลของสาร A,B และ C ได้ดังนี้
เศษส่วนโมลของ A ; XA = จำนวนโมลของ A จำนวนโมลของ A + จำนวนโมลของ B + จำนวนโมลของ C
เศษส่วนโมลของ B ; XB = จำนวนโมลของ B จำนวนโมลของ A + จำนวนโมลของ B + จำนวนโมลของ C
เศษส่วนโมลของ C ; XC = จำนวนโมลของ C จำนวนโมลของ A + จำนวนโมลของ B + จำนวนโมลของ C
|