เครื่องมือพิเศษในงานเครื่องล่างรถยนต์
|
แผนการสอน |
หน่วยที่ 1 |
|
ชื่อวิชา งานเครื่องล่างรถยนต์ |
สอนครั้งที่ 1 |
||
ชื่อหน่วย เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่างรถยนต์ |
ชั่วโมงรวม 108 |
||
ชื่อเรื่องหรือชื่องาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่างรถยนต์ |
จำนวนชั่วโมง 6 |
หัวข้อเรื่องและงาน
เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่างรถยนต์
สาระสำคัญ
- เครื่องมือพิเศษสำหรับงานเครื่องล่างรถยนต์
- ความปลอดภัยในงานเครื่องล่างรถยนต์
- การยกรถด้วยแม่แรงและการยกรถด้วยลิฟต์ยกรถให้ปลอดภัย
จุดประสงค์การเรียนการสอน
1. จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อใหนักเรียนสามารถใช้เครื่องมือพิเศษและปฎิบัตความปลอดภัยในงานเครื่องล่างรถยนต์ได้
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
2.1 บอกเครื่องมือพิเศษในงานเครื่องล่างรถยนต์ได้
2.2 ปฎิบัติความปลอดภัยในงานเครื่องล่างรถยนต์ได้
2.3 ยกรถด้วยแม่แรงและลิฟต์ยกรถให้ปลอดภัยได้
กิจกรรมการเรียน การสอน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
- ครูผู้สอนนำรูปข้าวที่อยู่ในจานมาให้ผู้เรียนดูและถามผู้เรียนว่าเราใชเครื่องมืออะไรในการทานข้าว
- ครูผู้สอนนำรูปอุบัติเหตุจากการทำงานมาให้ผู้เรียนดูและถามผู้เรียนว่าทำไมจึงต้องมีกฎระเบียบภายในโรงงาน
- ครูผู้สอนนำรูปคนกำลังยกของมให้ผู้เรียนดูและถามผู้เรียนว่าจากรูปการยกของแบบนี้ถูกต้องหรือไม่
ขั้นเสนอเนื้อหา
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
วัตถุประสงค์ 1. ใช้เครื่องมือพิเศษสำหรับงานเครื่องล่างได้อย่างถูกต้อง
เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
สาระสำคัญประจำหน่วย
การซ่อมรถยนต์ต้องใช้เครื่องมือประจำตัวช่างเป็นส่วนใหญ่ แต่ในบางงานช่างไม่สามารถที่จะใช้เครื่องมือประจำตัวช่างได้ จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่นอกเหนือไปจากเครื่องมือประจำตัวช่าง ที่เรียกกันว่า เครื่องมือพิเศษ (Service Special Tools = SST)
เครื่องมือพิเศษออกแบบมาให้เหมาะสม ปลอดภัยและรวดเร็วกับงานแต่ละชนิด และรถแต่ละรุ่น ควรใช้ตามคำแนะนำในหนังสือคู่มือซ่อมของรถแต่ละรุ่น บางอย่างทำใช้เองได้
1. เครื่องมือพิเศษสำหรับงานเครื่องล่าง (
1.1 เครื่องมือพิเศษซ่อมลูกหมากปีกนก
ลักษณะเครื่องมือ |
ชื่อและการใช้งาน |
|
เหล็กดูดลูกหมากปีกนก |
|
ชุดเหล็กถอดบุ๊ชระบบรองรับ |
|
ประแจท่อน้ำมันเบรก ขนาด 10 ´ 12 มม. |
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
1.2 เครื่องมือพิเศษซ่อมแกนพวงมาลัย
ลักษณะเครื่องมือ |
ชื่อและการใช้งาน |
|
เหล็กดูดพวงมาลัย |
|
เหล็กประกอบชุดกระปุกพวงมาลัย |
|
คีมถ่างแหวนล็อก |
1.3 เครื่องมือพิเศษซ่อมกระปุกพวงมาลัย
ลักษณะเครื่องมือ |
ชื่อและการใช้งาน |
|
เหล็กดูดแขนพิตแมน (ขาไก่กระปุกพวงมาลัย) |
|
เหล็กดูดลูกหมากคันส่ง |
|
เหล็กดูดปลอกลูกปืนเพลาตัวหนอน |
|
บล็อกปรับความตึงลูกปืนเพลาตัวหนอน |
|
ประแจขันสกรูปรับความตึงลูกปืนเพลาตัวหนอน |
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
1.4 เครื่องมือพิเศษซ่อมหม้อลมเบรก
ลักษณะเครื่องมือ |
ชื่อและการใช้งาน |
|
เหล็กถอดประกอบตัวล็อกไดอะแฟรมหม้อลมเบรก |
|
เกจปรับก้านดันหม้อลมเบรก |
|
ชุดถอดประกอบหม้อลมเบรก |
|
เหล็กถอดและประกอบสปริง ดึงฝักเบรก |
|
เหล็กตั้งเบรก |
|
เหล็กถอดสปริงดึงฝักเบรก |
|
ไขควงถอดสปริงยึดฝักเบรก |
|
เหล็กใส่สปริงดึงฝักเบรก |
|
ประแจขันข้อต่อท่อน้ำมันเบรกขนาด 10 ´ 12 มม. |
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
2. ปฏิบัติความปลอดภัยในงานเครื่องล่างได้
2. ความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
การคลุมบังโคลนและพื้นรถ
è คลุมบังโคลนเพื่อรักษาสีรถไม่ให้เปื้อน
และถูกขีดข่วน
è คลุมพื้นรถเพื่อป้องกันสกปรกจากรองเท้า
รูปที่ 2.1 การคลุมบังโคลนและพื้นรถ
การเก็บชิ้นส่วนไว้อย่างเป็นระบบ è ถอดชิ้นส่วนออกเรียงไว้ตามลำดับการถอด
ผูกเป็นชุด หากต้องประกอบใช้ภายหลัง
è ทำเครื่องหมายเพื่อประกอบกลับได้ถูกต้อง
ตามเดิม
è ห่อเก็บกันสิ่งสกปรกเมื่อจะใช้วันข้างหน้า
รูปที่2.2 การเก็บชิ้นส่วนไว้อย่างเป็นระบบ
การเปลี่ยนอะไหล่ที่เสื่อมสภาพ
è เปลี่ยนซีลกันรั่ว ปะเก็นแหวนยางและปิ้น
เมื่อประกอบชิ้นส่วนกลับคืน
è อย่านำอะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนกลับมาใช้อีก
ให้เปลี่ยนใหม่
รูปที่2.3 การเปลี่ยนอะไหล่ที่เสื่อมสภาพ
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
การเลือกใช้อะไหล่
è ใช้อะไหล่และสารหล่อลื่นของแท้หรือที่มี
คุณภาพเท่าเทียม
è เมื่อจะนำอะไหล่เก่ากลับมามาใช้ใหม่ต้อง
ตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้มั่นในว่าอยู่
ในสภาพดีที่ใช้งานได้ ไม่มีความเสียหาย
หรือเสื่อมคุณภาพ
รูปที่2.4 การเลือกใช้อะไหล่
การถอดท่อน้ำมันเบรก
è ถอดเหล็กล็อกท่อน้ำมันเบรก
ข้อควรจำ
- การถอดหรือประกอบท่อน้ำมันเบรก
ให้ใช้ประแจ 2 ตัวเสมอ
è ใช้ประแจปากตายจับยึดท่อยางไว้
è ใช้ประแจท่อน้ำมันเบรกคลายน็อต
หัวท่อเหล็ก
ข้อควรจำ
รูปที่2.5 การถอดเหล็กล็อกท่อน้ำมันเบรก - การประกอบท่อให้หมุนเข้าด้วยมือ
ก่อนใช้ประแจขัน
รูปที่2.6 การถอดท่อน้ำมันเบรก
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
การใช้น้ำมันเบรก
è เติมด้วยน้ำมันเบรกตัวเดิม
è อย่านำน้ำมันเบรกที่ถ่ายออกกลับมาใช้อีก
è น้ำมันเบรกก่อความเสียหายให้สีและพื้น
พลาสติกได้ ถ้าพลาดพลั้งทำหกใส่ให้รีบ
ช้น้ำล้างออกจากสีหรือพื้นพลาสติก
è หลังถอดท่อเบรก ให้อุดปลายที่เปิดเพื่อ
ป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเบรก
è ทำความสะอาดชิ้นส่วนแม่ปั๊มเบรกและชิ้น
รูปที่ 2.7 การใช้น้ำมันเบรก ส่วนกระบอกเบรกที่ถอดออกมาทุกชิ้นใน
น้ำมันเบรกที่สะอาดเท่านั้น
è เป่ารูและช่องทางน้ำมันเบรกผ่านให้สะอาด
การใช้น้ำมันหล่อลื่น
è ใช้แต่น้ำมันเครื่องเบอร์เดิมตามกำหนด
è ใช้แต่น้ำมันเกียร์เบอร์เดิมตามกำหนด
è ใช้แต่จาระบีตัวเดิมตามกำหนด
è ระวังสิ่งปนเปื้อนสารหล่อลื่น
è ระวังน้ำมันหรือจาระบีถูกท่อยาง
รูปที่ 2.8 การใช้น้ำมันหล่อลื่น
การรองรับรถป้องกันอุบัติเหตุ
è ก่อนยกหน้ารถต้องดึงเบรกมือและหนุน
ล้อหลังไว้ทั้ง 2 ด้าน
è ยกหน้ารถที่จุดรองรับไม่ได้รับอันตราย
è รองรับตัวรถให้ถูกที่ ไม่ทำให้เกิดการ
เสียหายหรือเกิดอันตรายในการทำงาน
รูปที่ 2.9 การรองรับรถป้องกันอุบัติเหตุ
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
การทำงานใต้ท้องรถให้ปลอดภัย
è เบรกมือให้แน่น
è หนุนล้อหลังทั้ง 2 ด้าน
è ถอดขั้วแบตเตอรี่
è ยกหน้ารถขึ้นตั้งบนขาตั้ง
ข้อควรจำ
- อย่าเข้าไปใต้รถก่อนตั้งรถบนขาตั้ง
- อย่าเข้าไปทำงานใต้รถขณะยกรถด้วย
รูปที่ 2.10 การทำงานใต้ท้องรถให้ปลอดภัย แม่แรง
- อย่าเข้าใต้ท้องรถขณะเครื่องยนต์ทำงาน
การถอดลูกหมากคันส่ง
è ถอดปิ้นและถอดน็อต
è ใช้เหล็กดูดลูกหมากคันส่งถอด
ลูกหมากคันส่ง
ข้อควรจำ
- อย่าถอดลูกหมากคันส่งด้วยค้อน
รูปที่ 2.11 การถอดลูกหมากคันส่ง
การเลือกใช้สกรูขันล้อ (Lug Bolts)
1. สำหรับล้อแม๊ก (Light Alloy Wheels)
2. สำหรับล้อเหล็ก (Sheet Metal Wheels)
รูปที่ 2.12 การเลือกใช้สกรูขันล้อ
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
การตรวจซ่อมชิ้นส่วน
è การถอดหรือแยกชิ้นส่วน ต้องตรวจสอบ
อย่างระมัดระวังเพื่อจำแนกปัญหาที่ต้อง
แก้ไข
è ปฏิบัติตามหมายเหตุและข้อปฏิบัติ
เพื่อความปลอดภัยทุกข้อ
è ดำเนินการตามขั้นตอนทีเหมาะสม
ซึ่งระบุไว้ในคู่มือซ่อม
รูปที่ 2.13 การตรวจซ่อมชิ้นส่วน
การประกอบชิ้นส่วน
è ต้องประกอบชิ้นส่วนกลับเข้าไปโดยการ
ใช้แรงขันแน่นที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้
è เมื่อต้องขันน็อตสกรูเป็นชุด ให้เริ่มจากตรงกลาง หรือตัวที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ก่อน
è ขันในลักษณะตรงข้ามโดยไม่ขันแน่นเพียง
รูปที่ 2.14 การประกอบชิ้นส่วน ครั้งเดียว แต่ขันแน่น 2-3 รอบ
การใช้ประแจลม
è เหมาะสำหรับการคลายสกรูขันล้อ
è มีแรงมากและคลายได้เร็ว
è การใช้ประแจลมขันสกรูขันล้อ ต้องระวังจะแน่นเกินไปจนเป็นอันตราย
ข้อควรจำ
- ปรับความดันลมให้เหมาะกับขนาดสกรู
- อันตราย ถ้าขันแน่นด้วยประแจลม
รูปที่ 2.15 การใช้ประแจลม - ควรใช้ประแจลมพอแน่นแล้วขันแน่น
ด้วยมือ
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
3. การยกรถด้วยแม่แรงและด้วยลิฟต์ยกรถให้ปลอดภัย
3. การยกรถด้วยแม่แรงและด้วยลิฟต์ยกรถให้ปลอดภัย
3.1 การยกรถด้วยแม่แรง
1. ดึงเบรกมือ ล็อกล้อที่จะไม่ยก
2. เมื่อจะยกส่วนท้ายรถให้เข้าเกียร์ถอยหลัง (เกียร์อัตโนมัติเข้าเกียร์ในตำแหน่ง P)
3. ยกรถขึ้นให้สูงพอที่จะใส่ขาตั้ง 3 ขาเข้าไปได้
4. ปรับและจัดวางขาตั้ง 3 ขา เพื่อให้รถอยู่ในแนวระดับพอประมาณ จากนั้นลดระดับรถลง
วางบนขาตั้งนิรภัย
รูปที่ 2.16 การยกรถด้วยแม่แรง
รูปที่ 2.17 การยกรถด้วยแม่แรง (ต่อ)
ใบเนื้อหา
หัวข้อ/งาน เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
3.2 การยกรถด้วยลิฟต์ยกรถ
&n