เนื้อหาสาระหน่วยที่2
เรื่อง การวัดและปริมาณเวกเตอร์
การวัด
การวัดเป็นสิ่งสำคัญในวิชาฟิสิกส์ที่จะบ่งบอกถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของงาน ถ้าการวัดไม่ถูกต้องหรือไม่ดีพอ จะทำให้เกิดความล้มเหลวขึ้น สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการวัดประกอบด้วย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการวัด
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดจะมีความละเอียดแตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้งาน เช่น ไม้บรรทัด แคลลิปเปอร์ สเกลเวอร์เนียร์ สกรูเกจไมโครมิเตอร์
2. รูปร่างของสิ่งที่จะวัด
รูปร่างต่างๆ ของวัตถุที่แตกต่างกันออกไปจะทำให้วิธีการวัดต้องใช้เครื่องมือแตกต่างกันตามไปด้วย เช่น
- การวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกฟุตบอล - การวัดความสูงของน้ำในกระบอก
3. ปริมาณที่จะวัด
การวัดในทางฟิสิกส์จะแบ่งปริมาณการวัดออกเป็นหลายลักษณะ แต่ละลักษณ์จะมีเครื่องมือวัดและหน่วยที่วัดแตกต่างกันออกไป
- การวัดความยาว - การวัดมวล
- การวัดปริมาตร - การวัดเวลา
- การวัดกระแสไฟฟ้า
หน่วยของการวัด
ระบบ SI จะแบ่งหน่วยต่างๆ ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. หน่วยมูลฐาน (Base Units)
เป็นหน่วยที่วัดเพื่อแสดงความมากน้อยของปริมาณต่างๆ มีอยู่ทั้งหมด 7 หน่วย
ปริมาณ |
ชื่อหน่วย |
สัญลักษณ์ |
ความยาว (Lenght) |
เมตร (Meter) |
m |
มวล (Mass) |
กิโลกรัม (Kilogram) |
kg |
เวลา (Time) |
วินาที (Second) |
s |
กระแสไฟฟ้า (Electric Current) |
แอมแปร์ (Ampere) |
A |
อุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิค (Thermodinamic Temperature) |
เคลวิน (Kelvin) |
K |
ปริมาณสาร (Amount of Substance) |
โมล (mole) |
mol |
ความเข้มของแสง (Luminous Intensity) |
แคนเดลา (Candela) |
cd |
2. หน่วยเสริม (Supplementary Units)
เป็นหน่วยที่ใช้วัดมุมแบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ
2.1 เรเดียน (Radian) ใช้สัญลักษณ์ rad
เป็นหน่วยสำหรับวัดมุมในระนาบโดย 1 rad เป็นอัตราส่วนของความยาวส่วนโค้งต่อรัศมี
2.2 สตีเรเดียน (Steradian) ใช้สัญลักษณ์ Sr
3. หน่วยอนุพันธ์ (Derived Units)
เป็นหน่วยผสมที่เกิดจากหน่วยมูลฐานหลายหน่วยมารวมกันตามนิยามของปริมาณต่างๆ บางครั้งก็นำมาตั้งชื่อใหม่เพื่อสะดวกในการใช้คำอุปสรรคนำหน้า และง่ายต่อการจำ
ปริมาณ |
ชื่อหน่วย |
สัญลักษณ์ |
แรง (Force) |
นิวตัน (Newton) |
N (kg m/s2) |
งาน (work) |
จูล (Joule) |
J (N m) |
พลังงาน (Energy) |
จูล (Joule) |
J (N m) |
กำลัง (Power) |
วัตต์ (watt) |
W (J/s) |
ปริมาณเวกเตอร์
ซึ่งเป็นการบอกปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทางผสมอยู่ด้วยกัน เราเรียกปริมาณเหล่านี้ว่า “ปริมาณเวกเตอร์” (Vecter Quantities) ส่วนปริมาณที่มีขนาดเพียงอย่างเดียวเรียกว่า “ปริมาณสเกลาร์” (Scalar Quantities) เพื่อให้เกิดความแตกต่างระหว่าง 2 ปริมาณจึงต้องมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป โดยปริมาณเวกเตอร์จะเขียนแทนด้วยลูกศร
องค์ประกอบของเวกเตอร์
เนื่องจากปริมาณเวกเตอร์ เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง การที่จะทำให้เราหาทิศทางของปริมาณเวกเตอร์ได้ง่ายขึ้นนั้น ต้องกำหนดทิศทางของปริมาณเวกเตอร์เป็น 3 มิติ เป็น ระบบแกน x,y และ z
ให้ แทนเวกเตอร์หนึ่งหน่วยทางแกน x
แทนเวกเตอร์หนึ่งหน่วยทางแกน y
แทนเวกเตอร์หนึ่งหน่วยทางแกน z
หรือบางทีอาจจะใช้
Ax แทนเวกเตอร์ A ในแนวแกน x
Ay แทนเวกเตอร์ A ในแนวแกน y
Az แทนเวกเตอร์ A ในแนวแกน z
ในกรณที่เวกเตอร์ไม่ได้อยู่ในแกนใดแกนหนึ่งจะมีองค์ประกอบของเวกเตอร์มากกว่า 1 แกน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น
1. องค์ประกอบของเวกเตอร์ 2 มิติ
เป็นเวกเตอร์ที่อยู่บนระนาบใดระนาบหนึ่ง เช่น ระนาบ x-y ระนาบ x-z หรือระนาบ y-z ซึ่งเวกเตอร์เหล่านี้จะเป็นผลบวกของเวกเตอร์ 2 แกน
การหาค่าของขนาดของเวกเตอร์ในระนายใดระนาบหนึ่งจะมีวิธีการหาค่าได้ 2 แบบ
1.1 การหาจากเวกเตอร์หนึ่งหน่วย (Unit Vector) ( , และ )
สรุป ในกรณีที่บอกเวกเตอร์เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วย
1. หาค่าเวกเตอร์แนวแกน x (Ax) หาจากสัมประสิทธิ์ของ
หาค่าเวกเตอร์แนวแกน y (Ay) หาจากสัมประสิทธิ์ของ
หาค่าเวกเตอร์แนวแกน z (Az) หาจากสัมประสิทธิ์ของ
2. หาขนาดของเวกเตอร์
= ระนาบ x – y
= ระนาบ x – z
= ระนาบ y - z
3. หาทิศทางของเวกเตอร์ A
tan q = ระนาบ x-y
tan q = ระนาบ x-z
tan q = ระนาบ y-z
1.2 การหาจากขนาดของเวกเตอร์และมุมของเวกเตอร์ จะหาค่าของขนาดของเวกเตอร์ในแนวแกน x, y และ z จะหาได้จากการใช้ตรีโกณมิติมาเป็นตัวช่วยหา
สรุป การหาเวกเตอร์ในแนวแกน x และ y
เวกเตอร์ทำมุมกับแกน x
Ax = A cos q
Ay = A sin q
เวกเตอร์ทำมุมกับแกน y
Bx = B sin q
By = B cos q
2. องค์ประกอบของเวกเตอร์ 3 มิติ
เวกเตอร์ที่ไม่ได้อยู่บนระนาบหนึ่งหรือแกนใดแกนหนึ่งจะเป็นเวกเตอร์ที่มีองค์ประกอบทั้ง 3 แกน หรือ 3 มิติ โดยจะมีขนาดของเวกเตอร์แกน x แกน y และแกน z พร้อมกัน ดังนั้นลักษณะของเวกเตอร์จะเขียนอยู่ในรูปของ
ในการหาค่าของขนาดของเวกเตอร์และทิศทางของเวกเตอร์
=
=
การบวกเวกเตอร์
การบวกเวกเตอร์ก็คือ การนำเวกเตอร์แต่ละเวกเตอร์มาเรียงต่อกันไป โดยไม่ให้คุณสมบัติของเวกเตอร์ที่นำมาต่อเปลี่ยนไป ผลลัพธ์จะเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่ลากจากจุดเริ่มต้น (หาง) ของเวกเตอร์แรกไปยังจุดสิ้นสุด (หัว) ของเวกเตอร์สุดท้าย
การหาเวกเตอร์ผลลัพธ์
1. หาจากการวาดรูป
การบวกเวกเตอร์โดยการวาดรูปเวกเตอร์บวกกัน โดยนำหางเวกเตอร์ที่ 2 ไปต่อกับหัวเวกเตอร์แรก ถ้ามีหลายเวกเตอร์ก็ต่อเรียงกันไป เวกเตอร์ผลลัพธ์จะเป็นเวกเตอร์ที่ลากจากหางเวกเตอร์แรกไปยังหัวเวกเตอร์สุดท้าย จากนั้นก็วัดขนาดและทิศทางของเวกเตอร์ผลลัพธ์เป็นคำตอบ
หมายเหตุ ในการบวกเวกเตอร์สามารถเป็นไปตามกฎของการบวกต่อไปนี้ได้
1. กฎของการสลับที่ (Commutative Law)
=
2. กฎของการจัดหมู่ (Associative Law)
=
2. หาจากการคำนวณ
2.1 การบวกเวกเตอร์ 2 เวกเตอร์
ในการบวกเวกเตอร์ 2 เวกเตอร์จะหาได้จากการคำนวณโดยใช้สูตร
- หาขนาด
=
- หาทิศทาง
=
2.2 ใช้การแยกเวกเตอร์ไปตามแนวแกน x และ y
ในกรณีนี้จะใช้เมื่อมีเวกเตอร์มากกว่า 2 เวกเตอร์ บวกกันจะแยกเวกเตอร์แต่ละเวกเตอร์ไปตามแนวแกน x และ y จากนั้น หาผลบวกของเวกเตอร์ในแต่ละแกน
ผลบวกแกน x = ax + bx + cx + …
ผลบวกแกน y = ay + by + cy + …
จากนั้นหาผลบวกเวกเตอร์ผลลัพธ์จากสูตร
เวกเตอร์ผลลัพธ์ = (ผลบวกแกน x)2 + (ผลบวกแกน y)2
2.3 ใช้การบวกจากเวกเตอร์หนึ่งหน่วยของแต่ละเวกเตอร์
ถ้าการบอกเวกเตอร์แต่ละเวกเตอร์บอกมาอยู่ในรูปของเวกเตอร์หนึ่งหน่วย และ เราจะหาผลบวกจากการนำค่าของเวกเตอร์หนึ่งหน่วยในแกนเดียวกันมาบวกกัน
= ax + ay + az
= bx + by + bz
= cx + cy + cz
การคูณเวกเตอร์
ในการนำเวกเตอร์ 2 เวกเตอร์มาคูณกันจะแบ่งลักษณะของการคูณออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Dot - Product
เป็นวิธีการคูณเวกเตอร์ที่ให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นปริมาณสเกลลาร์ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้ปริมาณเวกเตอร์กลายเป็นปริมาณสเกลลาร์ได้ โดยนิยามของการคูณมีดังนี้
= ab cos q
เมื่อ a และ b เป็นขนาดของเวกเตอร์ทั้งสอง
และ q คือ มุมระหว่างเวกเตอร์ทั้งสอง
หมายเหตุ จากนิยามของ Dot Product จะสามารถทำให้เวกเตอร์กลายเป็นสเกลลาร์ โดยการเอา
ขนาดเวกเตอร์ยกกำลังสอง
=
=
=
2. Cross – Product
เป็นการคูณเวกเตอร์ที่ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นปริมาณเวกเตอร์เหมือนเดิม แต่ทิศทางของเวกเตอร์จะตั้งฉากกับระนาบของเวกเตอร์ทั้งสอง โดยนิยามของการคูณแบบนี้มีดังนี้
=
- ขนาดของ
= absinq
- ทิศทางของ
ในการหาทิศทางของเวกเตอร์ผลลัพธ์ จะใช้การกำมือขวา โดยหัวแม่มือแสดงทิศทางของเวกเตอร์ผลลัพธ์ การกำมือจะกำจากเวกเตอร์แรกไปหาเวกเตอร์ที่ 2 ดังนั้นการคูณแบบ Cross Product จึงไม่สามารถจะสลับที่สำหรับการคูณได้
¹
แต่ขนาดของเวกเตอร์ผลลัพธ์เท่ากัน ทิศทางของเวกเตอร์ผลลัพธ์จะตรงข้ามในกรณีที่เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วย
= [aybz - azby] + [azbx - axbz] + [axby - aybx]
หรืออาจจะใช้วิธีเขียนในรูป Determinant
ax ay az ax ay
bx by bz bx by
ค่าของ Unit ทางแกน คือ ay bz - az by
ค่าของ Unit ทางแกน คือ azbx – ax bz คูณลงเป็น บวก
ค่าของ Unit ทางแกน คือ ax by – ay bx คูณขึ้นเป็น ลบ