นิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์
งานนิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์เบื้องต้น
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการทำงานของระบบนิวแมติกส์ ระบบไฮดรอลิก และระบบควบคุม
2. เพื่อให้สามารถออกแบบติดตั้ง บำรุงรักษาระบบนิวแมติกส์ และระบบไฮดรอลิกเชิงกลและแบบไฟฟ้า
3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีในการสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบนิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์และมีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความรอบคอบและปลอดภัย
มาตรฐานรายวิชา
1. เข้าใจหลักการทำงานของระบบนิวแมติกส์และการควบคุม
2. ออกแบบติดตั้งและบำรุงรักษาระบบนิวแมติกส์เชิงกล
3. ออกแบบติดตั้งและบำรุงรักษาระบบนิวแมติกส์เชิงกล
4. เข้าใจหลักการทำงานของระบบไฮดรอลิกส์และการควบคุม
5. ออกแบบติดตั้งและบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกส์เชิงกล
6. ออกแบบติดตั้งและบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกส์แบบไฟฟ้า
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบและติดตั้งระบบนิวส์แมติกส์หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบนิวแมติกส์อุปกรณ์ในระบบนิวแมติกส์ เช่น ปั๊มลมวาล์ว อุปกรณ์ทำงานรวมทั้งระบบสุญญากาศ ฯลฯการเขียนผังวงจรนิวแมติกส์และการแสดงการเคลื่อนที่การออกแบบและเขียนวงจรนิวแมติกส์แบบทำงานต่อเนื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าและโซลินอยด์วาล์ว การออกแบบและเขียนวงจรนิวแมติกส์ควบคุมการทำงานด้วยรีเลย์ไฟฟ้าและโปรแกรมเมเบิ้ลคอนโทรลเลอร์(พีแอลซี) การบำรุงรักษาและการแก้ปัญหาของระบบนิวแมติก
ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบและติดตั้งระบบไฮดรอลิกส์ หลักการทำงานของระบบไฮดรอลิกส์อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิกส์ เช่น น้ำมันไฮดรอลิก ชุดต้นกำลัง วาล์ว และอุปกรณ์ทำงาน ฯลฯ การเขียนผังวงจรไฮดรอลิก การออกแบบและเขียนวงจรไฮดรอลิกส์ควบคุมด้วยรีเลย์ไฟฟ้าและโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์(พีแอลซี) การบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาของระบบไฮดรอลิกส์เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์
Download ใบงานการทดลอง
ใบงานที่ 1 งานควบคุมกระบอกสูบทางเดียว
ใบงานที่ 2 งานควบคุมกระบอกสูบสองทาง
ใบงานที่ 3 งานควบคุมกระบอกสูบสองทางด้วยวาล์ว 5/2 แบบทำงานด้วยลม
ใบงานที่ 4 งานควบคุมกระบอกสูบด้วยวาล์วกันกลับสองทาง
ใบงานที่ 5 งานควบคุมความเร็วก้านสูบ
ใบงานที่ 6 งานควบคุมกระบอกสูบด้วยวาล์วเร่งระบายลม
ใบงานที่ 7 งานควบคุมกระบอกสูบด้วยวาล์วความดันสองทาง
ใบงานที่ 8 งานควบคุมกระบอกสูบด้วยวาล์วหน่วงเวลา
ใบงานที่ 9 งานควบคุมกระบอกสูบด้วยวาล์วจัดลำดับ
ใบงานที่ 10 งานควบคุมกระบอกสูบแบบอัตโนมัติ
ใบงานที่ 11 งานควบคุมกระบอกสูบแบบต่อเนื่อง
ใบงานที่ 12 งานควบคุมกระบอกสูบด้วยวาล์วควบคุมทิศทาง
ใบงานที่ 13 งานควบคุมกระบอกสูบด้วยวาล์วควบคุมอัตราไหล
ใบงานที่ 14 งานควบคุมมอเตอร์ไฮดรอลิกส์
ใบงานที่ 15 งานควบคุมกระบอกสูบด้วยวาล์วกันกลับแบบมีน้ำมันควบคุม
อุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์
จากบทความที่ผ่านมา เราก็ทราบกันถึงข้อดีข้อเสียของระบบนิวเมติกกันแล้วนะครับ สำหรับบทความนี้ เรามาศึกษาหน้าที่การทำงานของแต่ละอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกกัน
โดยเราจะแบ่งแยกอุปกรณ์ต่างๆในระบบนิวเมติกออกเป็นกลุ่มๆ ตามหน้าที่ ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันการพัฒนา และเทคโนโลยีของอุปกรณ์นิวเมติกแต่ละชนิดจะมีมากกว่าในอดีต แต่หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ยังคงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นเราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงหน้าที่ของอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้
1. อุปกรณ์ต้นกำลังนิวแมติก ( Power unit ) ทำหน้าที่สร้างลมอัดที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในระบบนิวแมติก ประกอบด้วย
- อุปกรณ์ขับ ( Driving unit ) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดลม ได้แก่เครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
- เครื่องอัดลม ( Air compressor ) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
- เครื่องระบายความร้อน ( After cooler ) ทำหน้าที่หล่อเย็นอากาศอัดให้เย็นตัวลง
- ตัวกรองลมหลัก ( Main line air filter ) ทำหน้าที่กรองลมก่อนที่จะนำไปใช้งาน
- ถังเก็บลม ( Air reciever ) เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บลมที่ได้จากเครื่องอัดลมและจ่ายลมความดันคงที่สม่ำเสมอให้แก่ระบบนิวเมติก ถังเก็บลมจะต้องมีลิ้นระบายความดัน( Pressure relief valve ) เพื่อระบายความดันที่เกินสู่บรรยากาศ เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อความดันสูงกว่าปกติส่วนสวิตช์ควบคุมความดัน (Pressure switch ) ใช้ควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเครื่องอัดลมเมื่อความดันของลมสูงถึงค่าที่ตั้งไว้
- เครื่องกำจัดความชื้น ( Seperator ) อุปกรณ์นี้จะช่วยแยกเอาความชื้นและละอองน้ำมันที่แฝงมากับอากาศอัด ก่อนที่อากาศอัดจะถูกนำไปใช้งาน ในบางครังเรียกอุปกรณ์นี้ว่าเครื่องทำลมแห้ง
2. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพลมอัด ( Compressed air Treatment component )อุปกรณ์ควบคุมคุณภาพลม ทำให้ลมปราศจากฝุ่นละออง คราบน้ำมันและน้ำมันก่อนที่จะนำไปใช้ในระบบนิวแมติก ประกอบด้วย กรองลม ( Air filter ) วาล์วปรับความดันพร้อมเกจ (Pressure regulator ) อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator )
3. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน ( Controlling component ) หมายถึงวาล์วควบคุมชนิดต่าง ๆ ในระบบนิวแมติก ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเริ่มและหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลม ควบคุมอัตราการไหลของลม และควบคุมความดัน
4. อุปกรณ์การทำงาน ( Actuator or working component ) อุปกรณ์การทำงาน ทำหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังกล เช่น กระบอกสูบลมชนิดต่าง ๆ และมอเตอร์ลม
5. อุปกรณ์ในระบบท่อทาง ( Piping system ) อุปกรณ์ในระบบท่อทาง ใช้เป็นท่อทางไหลของลมในระบบนิวแมติก ระบบท่อนี้รวมถึงท่อส่งลมอัดและข้อต่อชนิดต่าง ๆ ด้วย