การพิมพ์รูปเล่มโครงงาน
การพิมพ์รูปเล่มโครงงาน
การจัดพิมพ์โครงงานวิชาชีพมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
4.1 การพิมพ์โครงงานทางวิชาชีพ
สามารถดูได้ในไฟล์ “ตัวอย่างการเขียนรูปเล่มโครงการ”
4.1.1 ตัวพิมพ์
ให้ใช้ตัวอักษรแบบ Browallia new ขนาด 15 พอยต์ สำหรับเนื้อหา และขนาด 16 พอยต์สำหรับส่วนที่เป็นหัวข้อและพิมพ์ตัวหนา โดยจัดกั้นหน้าแบบชิดซ้าย และพยายามจัดคำท้ายบรรทัดให้เท่ากัน
4.1.2 กระดาษที่ใช้พิมพ์
ให้ใช้กระดาษขาวไม่มีเส้นบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A4 (210 X
4.1.3 การเว้นระยะบรรทัดในการพิมพ์
การพิมพ์ข้อความภายในย่อหน้าเดียวกันจะไม่เว้นบรรทัด แต่ในกรณีที่ขึ้นย่อหน้าใหม่หรือขึ้นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยให้เว้น 1 บรรทัด
4.1.4 การลำดับหน้า
การพิมพ์เลขหน้าใช้ตัวอักษรขนาด 15 พอยต์ รูปแบบเดียวกับตัวพิมพ์ในข้อ 4.1.1 โดยพิมพ์ไว้มุมบนด้านขวาและห่างจากขอบกระดาษด้านบน
- การลำดับเลขหน้าในส่วนนำ เริ่มนับตั้งแต่หน้าอนุมัติโดยเรียงตามลำดับอักษรภาษาไทย ก-ฮ ยกเว้นหน้าอนุมัติไม่ต้องใส่เลขหน้ากำกับแต่ให้นับจำนวนหน้ารวมด้วย ส่วนบทคัดย่อให้เริ่มที่หน้า ข
- การลำดับเลขหน้าในส่วนเนื้อความ เริ่มนับตั้งแต่บทที่ 1 จนจบภาคผนวก โดยเรียงตามลำดับตัวเลขอารบิก 1 2 3 ยกเว้นหน้าแรกของแต่ละบท หน้าแรกของส่วนอ้างอิง และหน้าแรกของแต่ละภาคผนวก ไม่ต้องใส่เลขหน้ากำกับแต่ให้นับจำนวนหน้ารวมด้วย
4.1.5 การแบ่งบทและหัวข้อในบท
การแบ่งบทและหัวข้อในบทมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ชื่อเรื่องของโครงงานทางวิชาชีพ
ถ้ามีความยาวเกิน 1 บรรทัด ควรแบ่งข้อความให้เหมาะสมด้วยเหตุผล กระบวนความคิดและถูกต้องตามไวยากรณ์ ให้เขียนหรือพิมพ์เป็นรูปหน้าจั่วกลับ สำหรับชื่อเรื่องภาษาอังกฤษที่ปรากฏบนปกนอก ต้องเป็นอักษรตัวใหญ่ทั้งหมด
- บท
ให้ขึ้นหน้าใหม่เมื่อเริ่มบทใหม่เสมอ โดยพิมพ์คำว่าบทที่และเลขประจำบทไว้ที่ ตอนบนของกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยใช้ตัวอักษรเข้ม (Bold) ขนาด 16 พอยต์ บรรทัดแรกของเนื้อเรื่องในบท ให้เว้น 1 บรรทัดต่ำกว่าชื่อบท
- หัวข้อในบท แบ่งออกเป็น
1) หัวข้อใหญ่ หมายถึง หัวข้อซึ่งมิได้เป็นชื่อบท แต่มีความสำคัญ
- ให้เว้นระยะ 1 บรรทัดก่อนหัวข้อใหญ่ และใช้ตัวอักษรหนา (Bold) ขนาด 15 พอยต์ โดยพิมพ์ไว้ริมขอบกระดาษด้านซ้าย พร้อมทั้งใส่เลขกำกับหัวข้อ
- ในการขึ้นหัวข้อใหม่ ถ้ามีที่ว่างสำหรับพิมพ์ข้อความต่อไปได้ไม่เกิน 1 บรรทัด ให้ขึ้นหัวข้อใหม่ในหน้าถัดไป
- ถ้าเป็นคำศัพท์เฉพาะ (คำภาษาอังกฤษ) ให้พิมพ์คำนั้นๆ เป็นภาษาไทย โดยมีภาษาอังกฤษกำกับในวงเล็บด้านหลัง และพิมพ์อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) สำหรับกรณีคำศัพท์นั้นเป็นชื่อย่อ ให้พิมพ์อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ทั้งหมด เช่น ความเข้มข้นวิกฤตไมเซลล์ (Critical Micelle Concentration, CMC)
2) หัวข้อย่อย ถ้ามี ต้องไม่น้อยกว่าสองหัวข้อ
- การพิมพ์หัวข้อย่อยให้พิมพ์ชิดขอบซ้าย เว้นระยะ 1 บรรทัดก่อนขึ้นหัวข้อ และหัวข้อเป็นตัวอักษรตัวหนา ขนาด 15
- การลำดับเลขกำกับหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย
เลขกำกับหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยให้ใช้ระบบตัวเลขและจุดทศนิยม หัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยซึ่งมีเลขที่หัวข้อกำกับให้เว้น 4 ตัวอักษร ระหว่างเลขที่หัวข้อและอักษรตัวแรกของชื่อหัวข้อ เช่น 1.1 วัตถุประสงค์
4.1.6 กราฟ / รูปประกอบและตาราง
- กราฟ / รูปประกอบและตาราง ภาพถ่ายที่อ้างอิงมาจากที่อื่น อาจใช้ภาพสำเนาได้ กรณีที่เป็นกราฟหรือตารางควรใช้คอมพิวเตอร์เขียนขึ้นมา
- การอ้างอิงที่มาของตารางหรือรูปประกอบ ให้ใช้คำว่า “รูปที่ ...” “ตารางที่ …” และมีคำอธิบายประกอบรูปอยู่ใต้รูป ส่วนคำอธิบายประกอบตารางให้อยู่เหนือตาราง
- ให้เรียงตามบทที่รูปและตารางปรากฏอยู่ ถ้าอยู่ในภาคผนวก ให้เรียงตามลำดับของภาคผนวก
4.2 การจัดรูปเล่ม ให้เรียงลำดับดังนี้
- หน้าปกหน้า
- แผ่นรองปกหน้า
- ปกใน
- หน้าอนุมัติ
- บทคัดย่อ
- กิตติกรรมประกาศ
- สารบัญ
- สารบัญรูป (บัญชีรูปทั้งหมด รวมทั้งในภาคผนวก)
- สารบัญตาราง (บัญชีตารางทั้งหมด รวมทั้งในภาคผนวก)
10. รายการสัญลักษณ์และคำย่อ
11. บทที่ 1 ……………………..
บทที่ 2 ……………………..
บทที่ 3 ……………………..
บทที่ 4 ……………………..
บทที่ 5 ……………………..
12. เอกสารอ้างอิง
13. ภาคผนวก ก. …………………..
ภาคผนวก ข. …………………..
ภาคผนวก ค. …………………..
14. แผ่นรองปกหลัง
15. ปกหลัง