ระบบจุดระเบิด
ระบบจุดระเบิด ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับ หัวเทียน (Spark plug) ทำการจุดประกายไฟ เพื่อใช้ในการระเบิดในกระบอกสูบ ตามจังหวะที่ลูกสูบแต่ละสูบ เคลื่อนที่ขึ้นไป ก่อนจะถึงตำแหน่งศูนย์ตายบน (Top Dead Center) ในปลายจังหวะอัด ของลูกสูบแต่ละสูบ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำเนิดกำลังไฟ ที่ใช้ในการนี้คือ คอยล์จุดระเบิด (Coil) รถยนต์บางรุ่นโดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ อาจไม่ใช้ระบบจุดระเบิดโดยใช้ คอยล์จุดเป็นอุปกรณ์หลัก แต่จะใช้ระบบอีเล็คทรอนิคทำงานแทน
รูปที่ 1 วงจรระบบจุดระเบิด( Ignition Diagram)
เครื่องยนต์ 4 สูบ 6 สูบ 8 สูบ หรือ 12 สูบ ก็แล้วแต่ จะมีหัวเทียนเป็นตัวสร้างประกายไฟ สำหรับจุดระเบิด และสำหรับไฟฟ้า ที่ใช้ในการจุดระเบิด ที่ปลายหัวเทียนจะ มีขนาดประมาณ 25,000 - 30,000 โวล์ หรือมากกว่า ไฟฟ้าเหล่านี้ ได้มาจาก กระบวนการแปลงไฟ จากแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลท์ ผ่านตัว คอยล์จุดระเบิด (Coil) คอยจุดระเบิดนี้จะพร้อมทำงานในตอนที่ เราบิดลูกกุญแจสตาร์ท ไปอยู่ตำแหน่ง 'ON' ซึ่งเมื่อคอยล์ทำงาน ก็จะส่งปริมาณไฟไปให้จานจ่าย
รูปที่ 2 ส่วนประกอบต่างๆของจานจ่าย
จานจ่ายทำหน้าที่ แจกจ่ายกระแสไฟฟ้าปริมาณดังกล่าว ไปตามสายส่งกระแสไฟ เข้าสู่หัวเทียนแต่ละหัว และตัวจานจ่ายนี้เอง จะมีแกนเพลากลางหมุนได้ ซึ่งได้รับแรงหมุน มาจากกลไกของเพลาลูกเบี้ยว ในห้องเครื่องยนต์ หรืออาจจะได้รับแรงหมุน ถ่ายทอด มาจากกลไกของเพลาข้อเหวี่ยง (สำหรับเครื่องยนต์บางรุ่น)
รูปที่ 3 ส่วนประกอบต่างๆ ของชุดไฟแรงสูง
เมื่อเครื่องยนต์หมุน แกนจานจ่ายก็จะหมุนตาม แกนนี้ก็จะมีกลไก สำหรับจ่ายไฟที่ได้รับมาจากคอยล์จุดระเบิด เข้าสู่ขั้วไฟแต่ละขั้ว (ที่ต่อกับสายไฟหัวเทียนแต่ละสาย) เมื่อมีการจ่ายไฟแรงสูงมาที่หัวเทียน ก็จะมีการครบวงจร ที่เขี้ยวหัวเทียน ทำให้เกิดประกายไฟ ในปลายจังหวะอัดของลูกสูบ จึงเกิดระเบิดได้ ดังรูปที่ 3 เมื่อเครื่องยนต์ เริ่มหมุนแล้ว เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Alternator) ก็เริ่มทำงานตามการหมุนของเครื่องยนต์ โดยจ่ายกระแสไฟ ป้อนเข้าสู่แบตเตอรี่ และคอยจุดระเบิด จะเห็นว่า เมื่อเครื่องยนต์เริ่มทำงานงานแล้ว ตัวอัลเทอร์เนเตอร์ จะเป็นอุปกรณ์หลักที่สร้างกระแสไฟ ป้อนสู่อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในรถยนต์
รูปที่ 3 แสดงการทำงานของระบบจุดระเบิด
|
A:สายหัวเทียน |
คอยล์จุดระเบิด มีลักษณะ เป็นทรงกระบอกโลหะ ภายในประกอบด้วยขดลวด 2 ขด พันอยู่บนแกนเหล็กอ่อนเดียวกัน ซึ่งเป็นไส้อยู่ตรงกลาง ขดลวดขดหนึ่งเรียกว่า 'ขดลวดปฐมภูมิ' ซึ่งมีจำนวนไม่กี่ร้อยรอบ และเส้นลวดมีขนาดใหญ่ ขดลวดนี้เป็นขดลวดไฟแรงดันต่ำ ซึ่งจ่ายมาจากแบตเตอรี่ ส่วนขดลวดอีกขดหนึ่ง เรียกว่า 'ขดลวดทุติยภูมิ' มีจำนวนเป็นพันๆรอบ และเส้นลวดมีขนาดเล็ก ขดลวดส่วนนี้ เป็นขดลวดไฟแรงสูง เพื่อที่จะจ่ายให้กับหัวเทียน |
รูปที่ 4 โครงสร้างภายในคอยล์ (Coil)
แต่ในปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่น ได้เปลี่ยนไปใช้กระบวนการสร้าง ปริมาณแรงดันไฟขนาด 25,000 - 30,000 โดยใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ แทนการใช้คอยล์จุดระเบิด
รูปที่ 5 จุดระเบิดอิเล็คทรอนิคส์ MSD Ignition