ปวดศรีษะ
ปวดศีรษะ ปวดศีรษะเป็นอาการที่พบบ่อยมากในคนทั่วโลก ในแต่ละปีมีผู้ปวดศีรษะมากถึง 3 ใน 4 คน ส่วนน้อยของผู้ที่ปวดศีรษะเท่านั้นที่จะเป็นโรคร้ายแรง เช่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดศีรษะเกิดจากปวดจากความตึงเครียด (tension -type headache) และไมเกรน
ไมเกรน ไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจาก Tension-type headache พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า มีอาการปวดศีรษะรุนแรง มักปวดซีกใดซีกหนึ่งของศีรษะ หรืออาจปวดทั้ง 2 ซีกก็ได้ ร่วมกับอาการทางระบบประสาท มักเริ่มเป็นครั้งแรกในวัยแรกรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว พบบ่อยใน หญิงวัยเจริญพันธุ์และมักจะมีอาการก่อนมีประจำเดือน อาการน้อยลงในวัยหมดประจำเดือน อุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม ลักษณะอาการมีได้ 2 แบบ ซึ่งอาจมีอาการแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้ง 2 แบบ (33%) ก็ได้ - Common migraine (migraine without aura) เป็นไมเกรนชนิดที่ไม่มีอาการเตือน พบราว 75% ของผู้ที่ปวดศีรษะทั้งหมด มีอาการดังนี้ ปวดศีรษะตุ้บๆ มักเป็นซีกใดซีกหนึ่ง หรือปวดทั้ง 2 ซีก ค่อยๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา อาจปวดเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน (4-72 ชั่วโมง) อาการปวดเป็นมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหว แสง หรือเสียง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง (photophobia) กลัวเสียง (phonophobia) -Classic migraine (migraine with aura) เป็นไมเกรนที่มีอาการเตือน พบราว 33% ของทั้งหมด มีอาการดังนี้ อาการเตือน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เห็นแสงวูบวาบ การมองเห็นผิดปกติ ได้ยินเสียง หรือได้กลิ่นแปลกๆ เวียนศีรษะ ชาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย อาการ เหล่านี้มักจะเกิดก่อนปวดศีรษะประมาณ 5-60 นาที และจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นใน 4-60 นาที ปวดศีรษะแบบเดียวกับ common migraine แต่เฉียบพลันกว่า อาจปวดพร้อมอาการเตือนหรือภายใน 60 นาทีหลังอาการเตือน มักปวดนาน 2-6 ชั่วโมง และทุเลาหลังนอนพักผ่อน ไวต่อแสง (sensitivity to light) อ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย (พบน้อย)
สาเหตุ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่การปวดศีรษะเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งกระตุ้นปลายประสาทที่ผนังหลอดเลือด สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ -ความตึงเครียด เช่น ความโกรธ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การทำงานหรือออกแรงหักโหมจนเกินกำลัง (over exertion) การเดินทางไกล การออก กำลังกายหนัก -อาหาร เครื่องดื่ม หรือเครื่องปรุงบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ เนยแข็ง ช็อกโกเลต อาหารที่มีไขมัน หรือ tyramine สูง หัวหอม ผงชูรส สารไนเตรท ผลไม้ที่มี รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะเขือเทศ -ปัจจัยทางพันธุกรรม -อุบัติเหตุที่ศีรษะ -แสงจ้า หรือเสียงดัง -การอดอาหารและความหิว -การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การมีประจำเดือน กินยาคุมกำเนิด การดูแลตนเอง -นอนในห้องที่มืดและเงียบสงบ -ประคบเย็นบริเวณที่ปวด -อาบน้ำเย็น -กินยาแก้ปวดเมื่อเริ่มมีอาการ -หาสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้ปวดศีรษะและหลีกเลี่ยงเสีย -หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ การรักษาโดยแพทย์ -ตรวจหาโรครุนแรงอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะ -ให้ยาแก้ปวดชนิดที่ออกฤทธิ์แรงขึ้น -อาจต้องให้ยาเฉพาะสำหรับไมเกรน -ให้ยาแก้อาเจียน -ให้ยาป้องกันหากเป็นบ่อยจนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน
-การป้องกัน หลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นอาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะจากความตึงเครียด (Tension-type headache) อาการปวดศีรษะจากความตึงเครียดนั้นเกิดจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ (muscle contraction) เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด ต่าง จากไมเกรนคือมักปวดทั่วๆ ศีรษะ ปวดตื้อๆ แน่นๆ เหมือนถูกบีบรัด เป็นได้ทุกวันและไม่ถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหว ไม่กลัวแสงหรือเสียง มักไม่มี อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีเพียงเล็กน้อย มักมีอาการช่วงบ่าย มีความสัมพันธ์กับความเครียด อาจปวดเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ เป็นได้ในทุกอายุ แต่มักเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยหนุ่มสาว อาจพบปวดศีรษะทั้ง 2 ชนิด คือไมเกรนและความตึงเครียด ในคนเดียวกันก็ได้ อาการ -ปวดตื้อๆ แน่นๆ คล้ายถูกบีบรัด บริเวณขมับ กระหม่อม ท้ายทอย ต้นคอ -ปวดที่หนังศีรษะและกล้ามเนื้อต้นคอ สาเหตุ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าสิ่งกระตุ้นอาการปวดศีรษะมีดังนี้ -ความตึงเครียด เช่น ความโกรธ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ทำงานหรือออกแรงหักโหมเกินกำลัง (over exertion) -อยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม (poor posture) เป็นเวลานาน -ภาวะซึมเศร้า -อดนอน -กล้ามเนื้อตาล้า (eye strain) การดูแลตนเอง -ประคบเย็นบริเวณที่ปวด -อาบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น -นวดบริเวณศีรษะ ต้นคอ หัวไหล่ -ออกกำลังกายชนิดผ่อนคลาย (relaxation exercises) ด้วยวิธียืดและคลายกล้ามเนื้อ (stretching exercises) เช่น กายบริหาร มวยจีน โยคะ -ลดหรือหยุดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน -หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า สวมแว่นกันแดดเมื่อออกแดด -กินยาแก้ปวด ปรึกษาแพทย์ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ -ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานานและปวดบ่อยๆ -ปวดศีรษะร่วมกับมีไข้ คอแข็งก้มไม่ลง (อาจเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) แขน ขา ชาหรืออ่อนแรง การมองเห็นหรือการพูดผิดปกติ (อาจเป็นโรคหลอดเลือด สมอง) -ออกแรงเพียงเล็กน้อยก็มีอาการปวดศีรษะ การรักษาโดยแพทย์ -แยกโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะออกไปก่อน -ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ -ให้ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์แรงขึ้น การป้องกัน -ฝึกผ่อนคลาย เช่น ทำสมาธิ ออกกำลังกายด้วยวิธียืดและคลายกล้ามเนื้อ (stretching exercises) ซึ่งสามารถทำได้ในที่ทำงาน เช่น กายบริหาร -ออกกำลังกายสม่ำเสมอ -หลีกเลี่ยงสภาวะที่ทำให้เครียด -นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ -หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ) -หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน พยายามอยู่ในร่มในวันที่แดดแรง สวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกแดด นอกจากนี้ยังพบการปวดศีรษะที่เรียกว่า Analgesic headache คืออาการปวดศีรษะที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดหรือยารักษาไมเกรนที่ไม่เหมาะสม โดย เฉพาะยากลุ่ม ergot derivative ที่มีสาร caffeine ผสมอยู่ ผู้ที่กินยาแก้ปวดขนาดต่ำๆ ทุกวัน มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่กินขนาดสูงแต่ไม่บ่อย มักพบในผู้ที่ ซื้อยาแก้ปวดที่ผสม caffeine กินเองและกินถี่กว่า สัปดาห์ละ 1-2 วัน อาการ -ปวดศีรษะที่มีความถี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบของการปวดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ปวดศีรษะสลับกันระหว่างไมเกรนและที่เกิดจากยาแก้ปวด -ปวดศีรษะเกิน 15 วันต่อเดือน และปวดนานเกิน 4 ชั่วโมงต่อครั้งถ้าไม่รักษา -ต้องกินยาแก้ปวดแทบทุกวัน เพื่อระงับการปวดที่ไม่ได้เกิดจากไมเกรน การป้องกัน -ไม่กินยาแก้ปวดเกินเดือนละ 15 วัน การรักษา -หยุดยาแก้ปวดทั้งหมด (หลังหยุดยา 2-3 สัปดาห์ อาการปวดก็จะลดลงชัดเจน) -เปลี่ยนเป็นยาแก้ปวดขนานอื่น โดยปรึกษาแพทย์
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today
ไมเกรน ไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจาก Tension-type headache พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า มีอาการปวดศีรษะรุนแรง มักปวดซีกใดซีกหนึ่งของศีรษะ หรืออาจปวดทั้ง 2 ซีกก็ได้ ร่วมกับอาการทางระบบประสาท มักเริ่มเป็นครั้งแรกในวัยแรกรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว พบบ่อยใน หญิงวัยเจริญพันธุ์และมักจะมีอาการก่อนมีประจำเดือน อาการน้อยลงในวัยหมดประจำเดือน อุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม ลักษณะอาการมีได้ 2 แบบ ซึ่งอาจมีอาการแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้ง 2 แบบ (33%) ก็ได้ - Common migraine (migraine without aura) เป็นไมเกรนชนิดที่ไม่มีอาการเตือน พบราว 75% ของผู้ที่ปวดศีรษะทั้งหมด มีอาการดังนี้ ปวดศีรษะตุ้บๆ มักเป็นซีกใดซีกหนึ่ง หรือปวดทั้ง 2 ซีก ค่อยๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา อาจปวดเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน (4-72 ชั่วโมง) อาการปวดเป็นมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหว แสง หรือเสียง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง (photophobia) กลัวเสียง (phonophobia) -Classic migraine (migraine with aura) เป็นไมเกรนที่มีอาการเตือน พบราว 33% ของทั้งหมด มีอาการดังนี้ อาการเตือน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เห็นแสงวูบวาบ การมองเห็นผิดปกติ ได้ยินเสียง หรือได้กลิ่นแปลกๆ เวียนศีรษะ ชาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย อาการ เหล่านี้มักจะเกิดก่อนปวดศีรษะประมาณ 5-60 นาที และจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นใน 4-60 นาที ปวดศีรษะแบบเดียวกับ common migraine แต่เฉียบพลันกว่า อาจปวดพร้อมอาการเตือนหรือภายใน 60 นาทีหลังอาการเตือน มักปวดนาน 2-6 ชั่วโมง และทุเลาหลังนอนพักผ่อน ไวต่อแสง (sensitivity to light) อ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย (พบน้อย)
สาเหตุ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่การปวดศีรษะเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งกระตุ้นปลายประสาทที่ผนังหลอดเลือด สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ -ความตึงเครียด เช่น ความโกรธ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การทำงานหรือออกแรงหักโหมจนเกินกำลัง (over exertion) การเดินทางไกล การออก กำลังกายหนัก -อาหาร เครื่องดื่ม หรือเครื่องปรุงบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ เนยแข็ง ช็อกโกเลต อาหารที่มีไขมัน หรือ tyramine สูง หัวหอม ผงชูรส สารไนเตรท ผลไม้ที่มี รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะเขือเทศ -ปัจจัยทางพันธุกรรม -อุบัติเหตุที่ศีรษะ -แสงจ้า หรือเสียงดัง -การอดอาหารและความหิว -การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การมีประจำเดือน กินยาคุมกำเนิด การดูแลตนเอง -นอนในห้องที่มืดและเงียบสงบ -ประคบเย็นบริเวณที่ปวด -อาบน้ำเย็น -กินยาแก้ปวดเมื่อเริ่มมีอาการ -หาสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้ปวดศีรษะและหลีกเลี่ยงเสีย -หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ การรักษาโดยแพทย์ -ตรวจหาโรครุนแรงอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะ -ให้ยาแก้ปวดชนิดที่ออกฤทธิ์แรงขึ้น -อาจต้องให้ยาเฉพาะสำหรับไมเกรน -ให้ยาแก้อาเจียน -ให้ยาป้องกันหากเป็นบ่อยจนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน
-การป้องกัน หลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นอาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะจากความตึงเครียด (Tension-type headache) อาการปวดศีรษะจากความตึงเครียดนั้นเกิดจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ (muscle contraction) เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด ต่าง จากไมเกรนคือมักปวดทั่วๆ ศีรษะ ปวดตื้อๆ แน่นๆ เหมือนถูกบีบรัด เป็นได้ทุกวันและไม่ถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหว ไม่กลัวแสงหรือเสียง มักไม่มี อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีเพียงเล็กน้อย มักมีอาการช่วงบ่าย มีความสัมพันธ์กับความเครียด อาจปวดเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ เป็นได้ในทุกอายุ แต่มักเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยหนุ่มสาว อาจพบปวดศีรษะทั้ง 2 ชนิด คือไมเกรนและความตึงเครียด ในคนเดียวกันก็ได้ อาการ -ปวดตื้อๆ แน่นๆ คล้ายถูกบีบรัด บริเวณขมับ กระหม่อม ท้ายทอย ต้นคอ -ปวดที่หนังศีรษะและกล้ามเนื้อต้นคอ สาเหตุ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าสิ่งกระตุ้นอาการปวดศีรษะมีดังนี้ -ความตึงเครียด เช่น ความโกรธ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ทำงานหรือออกแรงหักโหมเกินกำลัง (over exertion) -อยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม (poor posture) เป็นเวลานาน -ภาวะซึมเศร้า -อดนอน -กล้ามเนื้อตาล้า (eye strain) การดูแลตนเอง -ประคบเย็นบริเวณที่ปวด -อาบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น -นวดบริเวณศีรษะ ต้นคอ หัวไหล่ -ออกกำลังกายชนิดผ่อนคลาย (relaxation exercises) ด้วยวิธียืดและคลายกล้ามเนื้อ (stretching exercises) เช่น กายบริหาร มวยจีน โยคะ -ลดหรือหยุดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน -หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า สวมแว่นกันแดดเมื่อออกแดด -กินยาแก้ปวด ปรึกษาแพทย์ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ -ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานานและปวดบ่อยๆ -ปวดศีรษะร่วมกับมีไข้ คอแข็งก้มไม่ลง (อาจเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) แขน ขา ชาหรืออ่อนแรง การมองเห็นหรือการพูดผิดปกติ (อาจเป็นโรคหลอดเลือด สมอง) -ออกแรงเพียงเล็กน้อยก็มีอาการปวดศีรษะ การรักษาโดยแพทย์ -แยกโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะออกไปก่อน -ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ -ให้ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์แรงขึ้น การป้องกัน -ฝึกผ่อนคลาย เช่น ทำสมาธิ ออกกำลังกายด้วยวิธียืดและคลายกล้ามเนื้อ (stretching exercises) ซึ่งสามารถทำได้ในที่ทำงาน เช่น กายบริหาร -ออกกำลังกายสม่ำเสมอ -หลีกเลี่ยงสภาวะที่ทำให้เครียด -นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ -หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ) -หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน พยายามอยู่ในร่มในวันที่แดดแรง สวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกแดด นอกจากนี้ยังพบการปวดศีรษะที่เรียกว่า Analgesic headache คืออาการปวดศีรษะที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดหรือยารักษาไมเกรนที่ไม่เหมาะสม โดย เฉพาะยากลุ่ม ergot derivative ที่มีสาร caffeine ผสมอยู่ ผู้ที่กินยาแก้ปวดขนาดต่ำๆ ทุกวัน มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่กินขนาดสูงแต่ไม่บ่อย มักพบในผู้ที่ ซื้อยาแก้ปวดที่ผสม caffeine กินเองและกินถี่กว่า สัปดาห์ละ 1-2 วัน อาการ -ปวดศีรษะที่มีความถี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบของการปวดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ปวดศีรษะสลับกันระหว่างไมเกรนและที่เกิดจากยาแก้ปวด -ปวดศีรษะเกิน 15 วันต่อเดือน และปวดนานเกิน 4 ชั่วโมงต่อครั้งถ้าไม่รักษา -ต้องกินยาแก้ปวดแทบทุกวัน เพื่อระงับการปวดที่ไม่ได้เกิดจากไมเกรน การป้องกัน -ไม่กินยาแก้ปวดเกินเดือนละ 15 วัน การรักษา -หยุดยาแก้ปวดทั้งหมด (หลังหยุดยา 2-3 สัปดาห์ อาการปวดก็จะลดลงชัดเจน) -เปลี่ยนเป็นยาแก้ปวดขนานอื่น โดยปรึกษาแพทย์
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today