การบริหารจัดการความรู้กับครูยุคใหม่(ตอนที่2)

     ทิ้งระยะห่างไปพอสมควรกับการจัดการความรู้ เนื่องจากภาระงานอื่นๆ เข้ามาแทรกซ้อนมากๆ สำหรับท่านที่ไม่ได้อ่านตอน 1 ท่านสามารถ search ได้จากเมนูค้นหาบทความของผู้เขียนโดยพิมพ์คำว่า การจัดการความรู้ ได้เลย ท่านจะพบบทความ อันนี้ก็ถือเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงของระบบสารสนเทศ ที่มีหัวใจหลักก็คือ เรียกง่าย ใช้คล่อง ถูกต้อง ทันเวลา นั่นเอง
     ใน SECI Model ของ นาโนกะ นั้นจะพบว่ากระบวนการเป็นสิ่งที่ไม่หยุดยั้ง ปัญหาหลักของสังคมเอเชียก็คือการหวงความรู้ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ต้องผ่านกระบวนการคัดสรรว่าคนๆนั้นจะสืบทอดได้ ในอดีตยุคแห่งคุณธรรมนำความรู้(ซึ่งไม่แน่ใจว่าวันนี้ การศึกษาเราย้อนหลังหรือไม่ เพราะเราพัฒนาแต่วิชาการจนลืมเรื่องคุณธรรม ถึงได้ต้องย้อนกลับไปหาการศึกษาแบบอดีต :>) การจะถ่ายทอดความรู้ให้กับศิษย์ต้องคิดและไตร่ตรองอย่างมาก หากไปอยู่กับคนที่ไร้คุณธรรม ความรู้ที่มากกว่าย่อมส่งผลร้ายอย่างมหันต์กับสังคม
     กระบวนการที่จะได้มาซึ่งความรู้ในยุคครูขาดแคลนนี้หัวใจสำคัญก็คือกระบวนการทางสังคม หากท่านสังเกตวันนี้ผู้คนห่างเหินกันเนื่องจากการคมนาคมและการสื่อสารที่สะดวกทำให้ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างดำรงชีวิต โลกในเรือน เพื่อนในมือ เป็นยุคที่เราสะดวกในชีวิตแต่ขาดจิตปฏิสัมพันธ์ ครูยุคใหม่เกิดมาในยุคที่ครูเก่งคอม เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ไม่อยู่ในกรอบกติกา ทำให้รุ่นใหญ่หลายคนมองเหมือนเป็นคนขาดความอ่อนน้อม ทั้งที่จริงเขาคิดอย่างไรแสดงออกไปอย่างนั้น อันดับแรกที่คนรุ่นใหม่ควรจะดักจับความรู้จากรุ่นใหญ่ๆ ก็คือกฎ ระเบียบและแนวทางปฏิบัติให้เป็นข้าราชการที่ดีต่างหาก เพราะบ่อยครั้งที่รุ่นใหม่ไฟแรงอยากทำโครงการ และไอเดียบรรเจิดแต่ไม่ทราบถึงกฎกติกามารยาท รวมถึงระเบียบต่างๆ ครูรุ่นใหม่ๆ หลายๆคนอาจเสียขวัญหลังจากทำงานมาแล้ว เบิกเงินไม่ได้ต้องควักกระเป๋าตัวเองจ่าย หรือเบิกเงินมาแล้วใช้เงินผิดระเบียบซึ่งจะต้องเป็นชะนักติดหลังไปอีกเป็นสิบปี
    อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของวินัยและการปกครอง รวมถึงการให้คำปรึกษาที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของครู เพราะหน้าที่หลักของครูมีความเก่ง 3 ด้านคือเก่งสอน เก่งดูแลนักเรียนและเก่งจัดกิจกรรม เพื่อให้เด็กเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขโดยครอบคลุมมาตรฐานครู 9 เรื่องคือ
     1. ภาษาและเทคโนโลยีสาหรับครู
     2. การพัฒนาหลักสูตร
     3. การจัดการเรียนรู้
     4. จิตวิทยาสาหรับคร
     5. การวัดและประเมินผลการศึกษา
     6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
     7. การวิจัยทางการศึกษา
     8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
     9. ความเป็นครู
แล้วเราจะเริ่มดักจับความรู้ได้อย่างไร 
     1. เริ่มจากความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หมายถึงต้องพูดคุยช่วยเหลือพี่ๆในที่ทำงาน การใดที่ช่วยได้รีบทำเพราะการทำงานมากย่อมได้ประสบการณ์มาก ความรู้ย่อมมาก ถ้ากลัวรุ่นใหญ่ให้หารุ่น New Old พวก 40 ต้นๆ พวกนี้ยังฟังเพลงแนวเดียวกับครูรุ่นใหม่อยู่ ยังรับได้กับเพลงแนว body slam หรือ big ass :> ซึ่งทำให้ง่ายต่อการพูดคุยและปรับตัว
     2. ในห้องพักครูเป็นห้องที่ดีที่สุดในการดักจับความรู้ หาประเด็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับงานมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเสมอ อย่ามัวแต่คุยเรื่องใครท้องกับใคร ใครเป็นพ่อของใคร จำพวกเรื่องคนอื่นก็มัวๆ เรื่องของตัวก็ไม่ชัดอีก ให้ยึดหลักตัวกลั่นกรองสามชั้นของโสเครติสที่ว่าเรื่องนั้นจริงหรือไม่ เป็นเรื่องดีหรือไม่ และมีประโยชน์หรือไม่(หากเป็นไปได้ลองค้นบทความเรื่อง ตัวกลั่นกรองสามชั้นของโสเครติสอ่านอีกครั้ง)
     3. สุ จิ ปุ ลิ หัวใจนักปราชญ์ใช้ได้แม้เรียนจบ แต่โลกยุคใหม่อาจจะใช้โทรศัพท์บันทึกเสียงเพื่อจะได้มาฟังซ้ำ รวบรวมและเรียบเรียงอีกครั้ง
     4. หากมีสิ่งต้องอ้างอิงกฎระเบียบ กรุณาค้นคว้ามาเปรียบเทียบ โดยยึดหลักกาลามสูตร ที่มา wikipedia กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
   1.อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
   2.อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
   3.อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
   4.อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
   5.อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
   6.อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
   7.อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
   8.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
   9.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
   10.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

    5.กรั่นกรองความรู้ เมื่อได้ความรู้มาและมีกฎระเบียบ หรือเอกสารอ้างอิงเปรียบเทียบ หากเป็นไปได้ครูยุคใหม่จงจัดพิมพ์หรือบันทึกเป็นเรื่องราวให้เกิดองค์ความรู้ โดยพยายามไตร่ตรองหาความรู้ที่แท้จริง และปรับปรุงความรู้ของเราจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เมื่อถึงคราวจำเป็นต้องใช้ก็ง่ายต่อการเรียกและสืบค้น จะดีมากหากเผยแพร่ให้แก่คนในองค์กร
    6. หมั่นตรวจสอบและปรับปรุง(update) ข้อมุลอย่างสม่ำเสมอ เพราะว่ากฎระเบียบและความรู้มีการเปลี่ยนแปลง พึงระลึกว่า อันวิชาความรู้คือความงอกงาม ย่อมมีความเจริญ ยกตัวอย่างเช่น กฎระเบียบห้ามสูบบุหรี่ในสถานศึกษา เป็นต้น
    ท้ายที่สุดของการจัดการความรู้โดยครูยุคใหม่ อย่าเห็นคนแก่นั้นไร้ค่าเพียงเพราะว่าใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น เพราะชีวิตนี้มิได้สิ้นสุดที่คอมพิวเตอร์และไอที

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


wnitat

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์